จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีไฟไหม้ประมาณ 2,300 ครั้ง/ปี
การทำประกันภัยบ้านเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะว่าหากเกิดอะไรขึ้นมากับบ้านของเราจริงๆ ประกันจะได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับเราแทนที่ต้องควักเงินก่อนใหญ่มาจัดการกับค่าซ่อมแซม
คุ้มมาก เพราะถ้าเทียบกับทุนประกันภัยแล้ว ถือว่าเบี้ยถูกมากเมื่อเทียบกับประกันภัยอื่นๆเช่น ประกันรถยนต์ ที่คนยังเลือกที่จะซื้อเป็นประจำไม่ยอมปล่อยให้ขาดแม้แต่วันเดียว
เนื่องจากประกันบ้านมีหลายแบบ ทางเราก็เลยอาจที่จะมาอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัยทั้ง 3 ประเภทนี้ ดังนี้
500,000 บาท
20,000 บาท
- ภัยจากลมพายุ
- ภัยจากแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด หรือคลื่นใต้น้ำหรือสึนามิ
250,000 บาท
- ภัยจากลูกเห็บ
150,000 บาท
- ภัยจากน้ำท่วม
25,000 บาท
50,000 บาท
สูงสุด 100,000 บาท
100,000 บาท
10,000 บาท
แนะนำว่าให้ซื้อแบบ Package ของ บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) เพราะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม โดยมีขายตั้งแต่ทุนประกันภัย 5 แสนบาทขึ้นไป
ทางเราเป็นนายหน้าประกันภัยกว่า 30 บริษัท ซึ่งได้ทำการเปรียบเทียบและคัดเลือกเบี้ยประกันภัยที่คุ้มค่าที่สุดมาให้แล้วแน่นอน โดยทางเรามั่นใจว่าได้เลือกเบี้ยประกันภัยที่ถูกที่สุดและคุ้มครองหัวข้อครอบคลุมเหมาะสมกับทางลูกค้าให้แล้ว ซึ่งมีขายที่เราที่เดียวแน่นอน
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามช่องทางการติดต่อดังต่อไปนี้
เราร่วมมือกับบริษัทประกันภัยชั้นนำในประเทศไทยเพื่อเสนอข้อเสนอประกันภัยให้กับทางลูกค้าทุกท่าน
เรามีแผนกลูกค้าสัมพันธ์คอยให้บริการลูกค้าที่ต้องการความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลใบเสนอราคา หรือบริการหลังการขาย รวมถึงการต่ออายุ
ลูกค้าที่ทำการชำระผ่านช่องทางการชำระเงินของทางเรา จะได้รับความคุ้มครองหากกรอกข้อมูลของทางผู้เอาประกันภัยครบถ้วนทันที
บริษัทเราเปิดให้บริการที่ปรึกษาประกันวินาศภัยมากว่า 20 ปี ดังนั้น ลูกค้าจึงสามารถมั่นใจในการใช้บริการประกันภัยผ่านทาง Everydayinsure.com ได้
นอกจากลูกค้ารายย่อยแล้ว ทางบริษัทยังมีฐานลูกค้าที่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ที่ใช้บริการกับทางเราอย่างต่อเนื่องมากกว่า 5 ปี เป็นจำนวนมาก
จัดส่งกรมธรรม์ฟรี โดยเจ้าหน้าที่สำหรับลูกค้าในกรุงเทพ หรือส่งจดหมายลงทะเบียนสำหรับลูกค้าต่างจังหวัด และฟรีค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต หากชำระเบี้ยประกันภัย online
EverydayInsure.com เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการเปรียบเทียบราคาผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท ยูโร-ไทย อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัด ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย เลขที่ ว00014/2543 ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และมีจุดมุ่งหมายหลักในการนำเสนอตัวเลือกผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่สะดวกและรวดเร็ว โดยในเอกสารใบเสนอราคาและใบเสร็จ จะระบุรายละเอียดของบริษัทโบรกเกอร์ที่เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์นั้นๆ ให้แก่ลูกค้าอย่างชัดเจน
EverydayInsure.com เป็นเว็บไซต์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกิจกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และการรับรองระบบสารสนเทศ เพื่อใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในเรื่อง การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Online)
บริษัท ยูโร-ไทย อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัด ขอแจ้งให้ทราบว่า “ทางบริษัท ไม่มีนโยบายให้ชำระค่าเบี้ยประกันภัย เข้าบัญชีส่วนบุคคลที่นอกเหนือจากบัญชีของบริษัท ยูโร-ไทย อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัด หรือผ่านบัญชีตรงของทางบริษัทประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยจัดทำ หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อที่ info@everydayinsure.com
อะไรคือทุนประกันภัย
ทุนประกันภัยคือ มูลค่าในการของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ที่ทางผู้เอาประกันภัยต้องการแจ้งทำประกันภัยกับทางบริษัทรับประกันภัยในกรณีที่ต้องการให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายค่าสินไหมกรณีที่เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน โดยวิธีคำนวณทุนประกันภัยโดยปกติจะคิดที่มูลค่าในการสร้างทดแทน (Replacement Value)
หลักการประเมินมูลค่าทุนประกันภัยที่เหมาะสมคิดยังไง
ทุนประกันภัยของที่อยู่อาศัยปกติจะแบ่งเป็น 2 หมวดหลักๆด้วยกันคือ 1 สิ่งปลูกสร้าง วิธีง่ายๆในการคำนวณทุนประกันภัยสำหรับสถานที่สิ่งปลูกสร้างนั้นง่ายมาก สามารถคำนวณได้เองและแจ้งกับทางบริษัทประกันภัยโดยการคำนวณด้วยวิธีดังนี้ 1. เข้าไปที่ http://oiceservice.oic.or.th/insurancefire/Calculator.php 2. เลือกวิธีกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย เป็น “กำหนดแบบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมูลค่าสร้างใหม่” 3. เลือกข้อมูลผู้ทำประกันภัยที่เป็นแบบของทรัพย์สินที่เรากำลังจะทำประกันภัย เช่น “อาคารบ้านพักอาศัย 2 ชั้น (บ้านเดี่ยว คสล.)” 4. เลือกคุณภาพวัสดุที่ใช้ เช่น “ราคาสูง” 5. ในการคำนวณพื้นที่ใช้สอย สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี 5.1. กรณีที่ไม่รู้พื้นที่ใช้สอยจริง แต่รู้ขนาดความกว้าง/ยาวของอาคาร เลือกขนาดพื้นที่ใช้สอย กว้าง x ยาว จำนวนชั้น เช่น “10 x 10 = 100 ตร.ม.” หากมีจำนวน 2 ชั้น ก็จะได้พื้นที่ใช้สอยรวม 200 ตารางเมตร หรือ 5.2. กรณีที่รู้พื้นที่ใช้สอยของตัวสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว ก็สามารถพิมพ์ลงไปในช่อง “รวมพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด” เพื่อให้ได้ราคามูลค่าสิ่งปลูกสร้างที่จะทำประกันภัย 6. หลังจากนั้น เราก็จะได้ทุนประกันภัยสิ่งปลูกสร้างที่จะทำประกันภัย เช่น ในกรณีก็จะได้ที่ ทุนประกันภัยที่ 3,025,800 บาท มาเป็นทุนในหมวดของสิ่งปลูกสร้างแล้ว
2 เฟอร์นิเจอร์ สำหรับหมวดเฟอร์นิเจอร์นั้น เราก็ประเมินคราวๆว่า หลังจาก่อสร้างสถานที่เอาประกันภัยของเราแล้ว เราใช้เงินทั้งหมดในการตกแต่งสถานที่เอาประกันภัยจนถึงปัจจุบันไปเป็นมูลค่ารวมทั้งหมดเท่าไร ไม่ว่าจะเป็น build-in โซฟา ตู้ โต๊ะ เตียง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (ทีวี ตู้เย็น เครื่องเสียง) เป็นต้น หลังจากที่คำนวณ มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง และ เฟอร์นิเจอร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว มูลค่ารวมกันของทั้งสองหมวดก็สามารถใช้เป็นทุนประกันภัยของสถานที่เอาประกันภัยเราได้แล้ว
อะไรคือ ประเภทของสิ่งปลูกสร้างชั้น 1, สิ่งปลูกสร้างชั้น 2, สิ่งปลูกสร้างชั้น 3
สิ่งปลูกสร้างชั้น 1: อาคารที่มีโครงสร้างหลักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือมีฉนวนห่อหุ้ม และผนังทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก หิน อิฐฉาบปูน 2 ด้าน มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ผนังทั้งหมด
สิ่งปลูกสร้างชั้น 2: อาคารที่มีโครงสร้างหลักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือเหล็กที่มีฉนวนห่อหุ้ม และผนังทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก หิน อิฐฉาบปูน 2 ด้าน ระหว่าง 50- 80 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ผนังทั้งหมด
สิ่งปลูกสร้างชั้น 3: อาคารที่ไม่มีลักษณะดังที่กำหนดในสิ่งปลูกสร้างชั้น 1 และชั้น 2 ให้ถือเป็นสิ่งปลูกสร้างชั้น 3
ทำไมลองกดคำนวณราคาค่าก่อสร้างตามวิธีข้างบนแล้วได้มูลค่าบ้านที่น้อยกว่ามูลค่าการก่อสร้างที่เคยสร้างจริง
การคำนวณค่าก่อสร้างตามขั้นตอนตามที่แจ้งเบื้องต้นนั้น เป็นการคำนวณค่าก่อสร้างพื้นฐาน ซึ่งอาจจะได้มูลค่าที่ต่ำกว่ามูลค่าค่าก่อสร้างจริงก็เป็นไปได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวัสดุภายในบ้านทั้งหมดที่ทางเลือกใช้ในการก่อสร้างบ้านของเราว่ามีมูลค่าสูงกว่ามูลค่ามาตรฐานหรือไม่ เช่น ขนาดกระเบื้อง (ยิ่งขนาดใหญ่ยิ่งแพง), หินอ่อนภายในบ้าน (ยิ่งมีเยอะยิ่งแพง), โครงอลูมิเนียม (ยิ่งแบบบางยิ่งแพง), รูปแบบของกระจก (Temper ทั้งหลังยิ่งแพง)
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่หากทางผู้เอาประกันภัย คำนวณค่าเบี้ยประกันภัยตามขั้นตอนที่ทางเราแนะนำไปแล้วได้มูลค่าทุนประกันภัยที่ต่ำกว่าบ้านที่เราอยู่อาศัย เนื่องจากวัสดุเหล่านี้ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น อาจจะเป็นวัสดุที่ใช้อยู่ภายในบ้านของทางผู้เอาประกันภัย และทำให้มูลค่าทุนประกันภัยสามารถสูงกว่ามูลค่าที่คำนวณข้างต้น อย่างเช่นบ้านเดี่ยว หากคำนวณในหน้าเว็บแล้วจะได้มูลค่าต่อตารางเมตรเพียง 15,129 บาท/ตร.ม ขณะที่ท่านก่อสร้างอาจจะอยู่ที่ประมาณ 22,000 – 30,000 บาท/ ตร.ม. ก็เป็นไปได้
ดังนั้นหากผู้เอาประกันภัยรู้มูลค่าก่อสร้างบ้านของตนที่แท้จริงอยู่แล้ว ก็สามารถที่จะใช้ค่าก่อสร้างที่สร้างบ้านเราจริงเป็นทุนประกันภัยในการทำประกันภัยได้เช่นกัน
เราสามารถทำทุนประกันภัยที่ต่ำกว่าทุนประกันภัยที่แท้จริงจากที่เราคำนวณตามสูตร ได้หรือไม่
คงไม่มีใครอยากจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยแพงอยู่แล้ว และวิธีที่จะลดค่าประกันภัยได้อย่างแรกก็คือทุนที่ลดลงเพราะตัวคูณอัตราเบี้ยประกันภัยก็จะลดลง แต่อยากให้มองว่า การทำประกันภัยคือการป้องกันความเสี่ยงที่เราไม่มั่นใจว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ โดยเรายินดีจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยจำนวนหนึ่งเพื่อแลกกับการป้องกันความเสี่ยงทั้งหมดของทรัพย์สินนั้นๆที่เราทำประกันภัย แต่การที่เราทำทุนประกันภัยต่ำกว่าความเป็นจริงนั้น ก็เปรียบเสมือนว่าเรายังไม่ได้ปิดความเสี่ยงในดังกล่าวอยู่ส่วนหนึ่ง และก็เหมือนว่าเราก็ทำตัวเป็นบริษัทประกันภัยในส่วนที่เหลือเอาไว้เอง ซึ่งก็จะผิดกับจุดประสงค์ของการทำประกันภัยที่ต้องการโอนความเสี่ยงให้กับทางบริษัทประกันภัย
หากทางเราทำทุนประกันภัยต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงไป บริษัทประกันภัยจะปฏิเสธจ่ายค่าสินไหมหรือไม่
สำหรับกรมธรรม์ที่อยู่อาศัย ถ้าหากจำนวนเงินเอาประกันภัยคลาดเคลื่อนจากมูลค่าที่แท้จริง แต่ยังไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าทรัพย์สิน เมื่อเกิดความเสียหายเพียงบางส่วน บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมเสมือนกับที่ได้ทำประกันไว้เต็มมูลค่า
อย่างไรก็ตามหากทำประกันภัยที่ต่ำกว่าทุนประกันภัยที่แท้จริง โดยทำทุนประกันภัยต่ำกว่า 70% นั้นอาจจะแยกได้เป็น 2 กรณี ดังต่อไปนี้
1. กรณีเกิดความเสียหายทั้งหมด (Total Loss): ทางประกันภัยก็จะจ่ายทุนประกันภัยสูงสุดตามหน้าตารางประกันภัยที่ทำประกันภัยกับทางบริษัทประกันภัยและหมดความคุ้มครองทันที โดยทางผู้เอาประกันภัยอาจจะต้องเพิ่มเงินส่วนที่เหลือในการก่อสร้างใหม่เนื่องจากทุนเอาประกันภัยไม่เพียงพอต่อการสร้างทรัพย์สินที่เอาประกันภัยทดแทนขึ้นมาใหม่
2. กรณีเกิดความเสียหายบางส่วน (Partial Loss): ทางผู้เอาประกันภัย อาจจะได้รับค่าสินไหมไม่เต็มจำนวนมูลค่าที่ความเสียหายที่เกิดขึ้น หากทางบริษัทประกันภัยมองว่าทุนประกันภัยที่ทางผู้เอาประกันภัยทำไว้มีมูลค่าต่ำกว่า 70% ของทุนประกันภัยที่แท้จริง ยกตัวอย่างเช่น ทรัพย์สินมีมูลค่าที่แท้จริงอยู่ที่ 1,000,000 บาท แต่ทางผู้เอาประกันภัยทำทุนประกันภัยอยู่ที่ 500,000 บาท ซึ่งในกรณีนี้ก็เปรียบเสมือนผู้เอาประกันภัยรับประกันภัยไว้เองอีก 500,000 บาท ดังนั้น หากเกิดความเสียหายขึ้นมาจริงๆที่ 100,000 บาท ทางบริษัทรับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพียงแค่ 50,000 บาทเท่านั้น เนื่องจากทางบริษัทประกันภัยมองว่า ทางบริษัทรับประกันภัยอยู่เพียงแค่ 50% ของมูลค่าทรัพย์สินที่แท้จริงเท่านั้น ส่วนอีก 50% ทางผู้เอาประกันภัย จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นเอง
แล้วถ้าอยากทำทุนประกันภัยสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง เวลาเกิดความเสียหายจะได้ค่าสินไหมทดแทนสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงหรือไม่
ผู้เอาประกันภัยไม่มีความจำเป็นต้องทำทุนประกันภัยที่สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง เนื่องจากหากทำไว้สูงกว่าทุนประกันภัยที่แท้จริง หากมีความเสียหายเกิดขึ้น ทางบริษัทประกันภัยก็จะจ่ายเพียงมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินเท่านั้น
เราควรเลือกทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัยไหนดี
ปกติหากทางผู้เอาประกันภัยต้องการทำประกันภัยก่อนอื่นก็ควรจะเลือกที่บริษัทประกันภัยว่ามีความมั่นคงเพียงพอไหมหากจะต้องจ่ายค่าสินไหมให้กับทางผู้เอาประกันภัยจริงๆ นอกจากนี้ หากทางผู้เอาประกันภัยทำประกันภัยระยะยาว ก็ควรจะเลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ ดำเนินกิจการมานาน และมีแนวโน้มว่าจะยังสามารถดำเนินธุรกิจประกันภัยต่อเนื่องได้อย่างน้อยตามจำนวนปีที่ทางเราทำประกันภัยไว้ด้วย ซึ่งอาจจะแบ่งได้ประมาณ 2 ประเภทคือ
1 บริษัทที่ผู้ถือหุ้นเป็นคนไทย
หากเลือกบริษัทที่ผู้ถือหุ้นเป็นคนไทย ก็อาจจะเลือกบริษัทที่เปิดกิจการมานาน มีสาขาอยู่มาก มีสภาพคล่อง และความแข็งแกร่งทางการเงินสูง มีชื่อเสียงที่ดีในการจ่ายค่าสินไหม มีสัดส่วนการตลาดที่สูง เช่น บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)
2 บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นส่วนมากเป็นต่างชาติ
หากเลือกบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาตินั้น ผู้เอาประกันภัยอาจจะต้องดูว่าใครเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท มีชื่อเสียงในต่างประเทศไหม มีธุรกิจเดียวกันในต่างประเทศกี่ประเทศ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในแต่ละประเทศที่ทำธุรกิจไหม มีสภาพคล่อง และความแข็งแกร่งทางการเงินสูงหรือไม่ อย่างเช่น บริษัท ชับบ์ สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่ผู้ถือหุ้นมีความแข็งแกร่งทางการเงินที่สูงมาก เทียบเท่า Rating: AA- ซึ่งให้อันดับโดย S&P (Standard & Poor) ซึ่งหากเทียบ กับบริษัทในไทยแล้ว บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ยังได้รับการจัดอันดับเท่ากับ BBB+ เท่านั้น
เราควรเลือกระยะเวลาเอาประกันภัยที่จะทำประกันภัยกี่ปีถึงจะเหมาะสมในการทำประกันภัยที่อยู่อาศัย (1ปี, 3ปี, 5ปี, 10ปี)
ในส่วนนี้อาจจะแนะนำว่าแล้วแต่วิจารณญาณของทางผู้เอาประกันภัย แต่ทางเราแนะนำว่าควรซื้อประกันภัยแบบยาวที่สุดที่ขาย ณ ช่วงเวลานั้นๆ เช่น 5 ปี หรือ 10 ปี เป็นต้น เนื่องจากหากทางผู้เอาประกันภัยเลือกทำประกันภัยแบบระยะยาว ทางบริษัทประกันภัยก็จะมีส่วนลดเพิ่มเติมสำหรับระยะเวลาเอาประกันภัยที่ยาวขึ้น ดังนั้น หากเรามองว่ายังไงเราก็กะจะทำประกันภัยทุกปีอยู่แล้ว จ่ายเป็นแบบเหมา พอมาคิดเฉลี่ยต่อปีก็จะถูกกว่าค่อนข้างเยอะ หากเลือกแบบ 10 ปี อาจจะถูกกว่าเกือบครึ่ง เมื่อเทียบกับมาซื้อปีต่อปี อย่างไรก็ตาม ก็ควรเลือกบริษัทประกันภัยที่มีความมั่นคงทางการเงินที่เรามองว่าสามารถที่จะฝากบ้านเราไว้ได้ตามจำนวนระยะเวลาเอาประกันภัยที่เราเลือกไว้เช่นกัน
ทำประกันภัยกับทางธนาคารตอนทำสัญญากู้ไปแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อประกันภัยที่อยู่อาศัยแล้วใช่ไหม
โดยปกติ ทางธนาคารจะทำประกันอัคคีภัยให้กับทางผู้ที่ขอสินเชื่อกู้บ้านกับทางธนาคารเท่านั้น ทีนี้ ทางเราก็ต้องมาดูว่า ความคุ้มครองที่ทำกับธนาคารนั้น คุ้มครองทุกหมวดที่กรมธรรม์ที่อยู่อาศัยควรจะคุ้มครองหรือไม่ ซึ่งปกติแล้ว ประกันอัคคีภัย จะคุ้มครองหมวดหลักๆแค่ภัยดังต่อไปนี้ ภัยไฟไหม้ ภัยฟ้าผ่า ภัยระเบิด แต่จะไม่รวมความคุ้มครองดังต่อไปนี้ เช่น ภัยเนื่องจากน้ำ ภัยจากควัน ภัยจากการเฉี่ยว หรือการชน จากยวดยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน ภัยธรรมชาติ (ภัยน้ำท่วม ภัยจากลมพายุ ภัยจากแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด หรือคลื่นใต้น้ำ หรือสึนามิ ภัยจากลูกเห็บ) ภัยโจรกรรม ประกันกระจก ประกันอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ประกันเงินสด ซึ่งหากดูแล้ว ไม่คุ้มครองเนื่องจากเป็นเพียงแค่กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ทางเราก็ควรซื้อประกันภัยที่อยู่อาศัยไว้อีกฉบับหนึ่งไว้คุ้มครองภัยต่างๆที่แจ้งข้างต้นในกรณีที่เกิดความเสียหายกับทรัพย์สินของเรา ซึ่งหากเรามีกรมธรรม์ที่อยู่อาศัยที่เราซื้อเองแบบระยะยาวแล้ว ทางเรายังสามารถให้บริษัทประกันภัยเพิ่มผู้รับผลประโยชน์เป็นทางธนาคาร ยื่นให้กับทางธนาคารเพื่อที่จะไม่ต้องซื้อประกันภัยอัคคีภัยกับทางธนาคารในปีต่ออายุได้อีกด้วย
หากทำประกันภัยมากกว่า 1 ฉบับ บนทรัพย์สินเดียวกัน สามารถเรียกร้องค่าสินไหมจากประกันภัยได้ทั้งสองที่ หรือได้มูลค่าสินไหมเป็นสองเท่าเหมือนประกันภัยบางประเภทหรือไม่
กรมธรรม์บางประเภทอาจจะมีวิธีการพิจารณาจ่ายค่าสินไหมตามวงเงินทุนเอาประกันภัยที่ซื้อแต่ละฉบับ เช่น ประกันชีวิต ที่ทางผู้เอาประกันภัยสามารถซื้อกรมธรรม์กี่ฉบับก็ได้ หากเกิดความสูญเสียหรือเสียหาย กรมธรรม์ประเภทนั้น ก็จะจ่ายตามมูลค่าที่เอาประกันภัยทุกฉบับ
อย่างไรก็ตาม สำหรับประกันภัยที่อยู่อาศัยนั้นทางผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกร้องค่าสินไหมที่เกิดขึ้นจริงได้กับผู้รับประกันภัยรายเดียวเท่านั้น โดยไม่สามารถเรียกร้องความเสียหายเดียวกัน (บนวงเงินที่ประกันภัยหนึ่งได้จ่ายค่าสินไหมไปแล้ว) เพิ่มเติมจากอีกบริษัทประกันภัยที่ทำกรมธรรม์ไว้อีกฉบับได้
อะไรคือ ภัยเนื่องจากน้ำ (ไม่รวมน้ำท่วม) ต่างจาก ภัยน้ำท่วมอย่างไร
ภัยเนื่องจากน้ำ หมายถึง การปล่อยการรั่วไหล หรือการล้นออกมาของน้ำหรือไอน้ำ จากท่อน้ำ ถังน้ำ ระบบทำความร้อน ระบบทำความเย็น ระบบปรับอากาศ เครื่องสูบน้ำ และรวมถึงน้ำฝนที่ไหลผ่านเข้าไปภายในอาคารจากการเสียหายของหลังคา หน้าต่าง ประตู วงกบประตูหน้าต่าง ช่องลม ช่องรับแสงสว่าง ท่อน้ำหรือรางน้ำ
ภัยจากน้ำท่วม หมายถึง น้ำซึ่งไหลล้นหรือไหลออกจากทางน้ำปกติซึ่งจะเป็นทางน้ำธรรมชาติ หรือจะเป็นทางน้ำที่สร้างขึ้นก็ดี (ไม่รวมถึงรางน้ำบนหลังคา) หรือเกิดจากท่อน้ำสาธารณะแตก ทำให้เกิดการท่วมของน้ำจากภายนอกของอาคารที่เอาประกันภัยไว้ หรืออาคารที่เก็บทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ รวมถึงน้ำท่วมอันเกิดจากลมพายุ น้ำป่า และโคลนถล่ม
หากมีความเสียหายเกิดขึ้น ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างในการขอค่าชดเชยค่าสินไหม
เอกสารที่ใช้ในการสำหรับการพิจารณาค่าสินไหมส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยเอกสารหลักๆดังต่อไปนี้
ระยะเวลาในการรับค่าชดเชยค่าสินไหม
โดยปกติ หลังจากที่ทางบริษัทประกันภัยได้รับเอกสารประกอบการแจ้งเรียกร้องค่าสินไหมที่ครบถ้วน และไม่มีการเรียกร้องขอเอกสารเพิ่มเติม บริษัทจะใช้เวลาประมาณ 7-15 วันทำการ ในการออกหนังสือตกลงจ่ายค่าสินไหม หลังจากนั้นทางบริษัทประกันภัยจะออก “สัญญาประนีประนอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย” ให้กับทางผู้เอาประกันภัยพิจารณา และลงนามเพื่อยืนยันการชดใช้ค่าสินไหมดังกล่าว หลังจากลงนามแล้วทางบริษัทประกันภัยจะต้องดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมให้กับทางผู้เอาประกันภัยตามที่ตกลงกันภายใน 15 วัน
ค่าสินไหมที่จ่ายนั้นจะจ่ายให้กับทางผู้เอาประกันภัยโดยตรงเลยได้ไหม หากมีผู้รับผลประโยชน์ระบุอยู่ในกรมธรรม์ประกันภัย
โดยปกติแล้ว หากมีการระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันภัยนั้น ค่าสินไหมทดแทนจะต้องจ่ายให้กับทางผู้รับผลประโยชน์ที่ถูกระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนั้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากเป็นค่าเสียหายที่มีมูลค่าเพียงเล็กน้อย (เช่น กระจกแตก ภัยเนื่องจากน้ำ ภัยลมพายุที่เกิดขึ้นกับตัวสิ่งปลูกสร้าง) ส่วนใหญ่ทางผู้เอาประกันภัยอาจจะต้องขอให้ทางผู้รับผลประโยชน์ออกหนังสือยินยอมให้ทางผู้รับประกันภัยจ่ายค่าสินไหมโดยตรงให้กับทางผู้เอาประกันภัยได้เช่นกัน
เบอร์ติดต่อในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
ทางผู้เอาประกันภัยสามารถติดต่อไปยังบริษัทประกันภัยตามเบอร์ในดังต่อไปนี้ หรือสามารถติดต่อมายังทาง บริษัท ยูโร-ไทย อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัด ที่เบอร์ 02-514-3214-6 เวลาทำการ: จันทร์ - ศุกร์ 08.30 น. - 17.30 น.
เราสามารถทำประกันภัยย้อนหลังเพื่อคุ้มครองความเสียหายที่เคยเกิดขึ้นได้หรือไม่
บริษัทประกันภัยจะไม่รับผิดชอบความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดก่อนวันที่รับประกันภัย ดังนั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ตกลงทำสัญญาประกันภัย ก็จะไม่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกรมธรรม์
หากเกิดไฟไหม้ และลามไปเกิดความเสียหายกับบ้านข้างเคียง กรมธรรม์ประกันภัยที่อยู่อาศัยรับผิดชอบความเสียหายที่บ้านข้างเคียงมาเรียกร้องหรือไม่
ความเสียหายดังกล่าวจะอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดของบุคคลภายนอก (Public Liability Insurance) ดังนั้น ทางเราอาจจะต้องดูว่าประกันภัยที่อยู่อาศัยที่เรามีอยู่นั้น ขยายคุ้มครองเพิ่มเติมในหมวดนี้หรือไม่ หากไม่มีทางเราแนะนำให้ติดต่อมายังทางบริษัทเพื่อดำเนินการทำประกันภัยเพิ่มเติมในส่วนนี้เพิ่มเติม
หากเกิดความเสียหายต่อร่างกายหรือชีวิตของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน ประกันภัยที่อยู่อาศัย คุ้มครองด้วยหรือไม่
หากเกิดความเสียหายต่อร่างกายหรือชีวิตสำหรับผู้เอาประกันภัย หรือและบุคคลในครอบครัวภายในบ้าน กรมธรรม์ประกันภัยที่อยู่อาศัย ก็จะไม่คุ้มครองค่าเสียหายไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยสำหรับการสูญเสียชีวิตของทางผู้เอาประกันภัย และบุคคลในครอบครัวของทางผู้เอาประกันภัย อย่างไรก็ตาม หากมีการขยายความคุ้มครองของ ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Public Liability Insurance) หากบุคคลอื่นเกิดความสูญเสียหรือเสียหายต่อร่างกายหรือชีวิต ทางบริษัทประกันภัย ก็จะพิจารณารับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลตามที่ได้จ่ายไปจริง รวมทั้งค่าชดเชยตามสมควร สูงสุดไม่เกินวงเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ในหมวดนี้